“ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและมีราคาที่เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงได้” นี่คือจุดเด่นและเป็นเจตนารมย์ของนักวิจัยที่ริเริ่มพัฒนาอุปกรณ์อัจฉริยะอย่าง “ HandySense” (แฮนดี้ เซนส์) ขึ้น เพื่อเป็นตัวช่วยในการเริ่มต้นทำเกษตรยุคใหม่ให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการยกระดับเกษตรกรไทยจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ยังต้องใช้แรงงานคนและขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ มาสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ที่เป็นเกษตรแม่นยำและเกษตรมูลค่าสูง โดย “HandySense” หรือ “ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” ริเริ่มและพัฒนาโดย “นายนริชพันธ์ เป็นผลดี” ผู้ช่วยนักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากการเป็นลูกหลานเกษตรกร อาชีพดั้งเดิมของครอบครัว เมื่อคุณพ่อ ซึ่งเกษียณอายุการทำงาน กลับไปทำอาชีพเกษตรกรอีกครั้ง “นริชพันธ์” หรือ “ตุ้น” ซึ่งเป็นนักวิจัยที่พัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเซนเซอร์และไอโอที ( Internet of things: IoT) จึงคิดที่จะประยุกต์ความรู้ที่มี พัฒนาเป็น “อุปกรณ์อัจฉริยะ” เทคโนโลยีตัวช่วยที่จะทำให้ครอบครัวและเกษตรกรคนอื่น ๆ สามารถทำงานด้านการเกษตรได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ระบบบริหารจัดการฟาร์มอัจฉริยะ “HandySense” อาศัยการทำงานของเทคโนโลยีไอโอทีและเซนเซอร์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือ ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์วัดความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้นในดิน และในอากาศ แสง และส่งต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ผ่านระบบคลาวด์ ไปยังส่วนที่ 2… Continue reading เติมเต็ม Ecosystemให้ “ HandySense ”ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยงานวิจัยอย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และเศรษฐกิจโลกกำลังเป็นตัวผลักดันให้ภาคการเกษตรต้องปรับระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพให้สูงขึ้นในขณะที่โจทย์การทำต้นทุนการผลิตให้ลดลง พร้อมกับการใช้เงินลงทุนที่ไม่สูง ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดโครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ดีแทคและหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบอัจฉริยะ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน เพื่อยกระดับสู่การทําเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรแบบแม่นยํา (Precision Agriculture) เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว่า โครงการ Handy Sense มีเป้าหมายจะดำเนินการ รวม 16 จุด แบ่งเป็น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 6 ศูนย์ (เขตละ 1 ศูนย์)… Continue reading พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะ ใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท
HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตร และระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ด้วยหวังให้เกษตรกรไทยได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในราคาที่จับต้องได้ จากการติดตั้งใช้งานจริงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ พิสูจน์แล้วว่า HandySense สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างน้อย 20% จากการลดต้นทุนผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สู่การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต วันนี้ HandySense พร้อมแล้วที่จะเปิดเผยองค์ความรู้ด้านการผลิตสู่สาธารณะในรูปแบบ Open Innovation โดยเร็ว ๆ นี้ เนคเทค-สวทช. และพันธมิตร เตรียมปล่อยพิมพ์เขียวการผลิต HandySense ทั้ง Schematic, PCB Design, Bill of Material และ Firmware ให้ทุกคนสามารถนำไปผลิต หรือ ต่อยอดการพัฒนาได้อย่างอิสระ เพื่อร่วมกันผลักดันให้ HandySene เป็นอุปกรณ์ Smart Farm ที่ทุกคนต้องมี ! ติดตามการเปิดตัวพร้อมกันเร็ว ๆ นี้ . . . จองสิทธิ์การใช้งานพิมพ์เขียว HandySense
24 มีนาคม 2560 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ร่วมกับ ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตรและ ร่วมมือกันพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ฟาร์มต้นแบบในการพัฒนาเกษตรแม่นยำผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) หวังเสริมแกร่งเกษตรกรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพทางการเกษตร คิกออฟประเทศไทยสู่ยุคเกษตรกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า ภาคเกษตรกรรม ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการเนคเทคระยะ 5 ปี พ.ศ.2560 – 2564 ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ประเทศ ยกระดับมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุน Smart Farm อาทิ เทคโนโลยี What2grow ที่นำไปใช้ใน AgriMap Online สถานีตรวจวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และเครื่องนับเมล็ดปาล์มอัตโนมัติ สำหรับโครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของเนคเทค ได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ โดยสร้างระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบเครือข่ายเกษตรกร จำเพาะเจาะจงตามชนิดของพืช… Continue reading เนคเทค-สวทช. ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ”
มูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563: ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค – สวทช. และ นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการแปลงฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่สูงผ่านโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ที่ใช้เทคโนโลยี IoT และเซนเซอร์ครบวงจร ที่ทำงานร่วมกับ Cloud Service Mobile Application ที่ดีแทคพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบในโรงเรือนให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกฤดู มุ่งผนึกกำลังสร้างเป็นองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้ชุมชนโดยรอบและเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “ตามที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น… Continue reading มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ เนคเทค-สวทช. และดีแทค ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ”
ที่อยู่
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.)
ติดต่อเรา
025646900 ต่อ 2353
https://www.nectec.or.th/innovation/
HandySense Community