handysense
ผลงานตัวอย่าง

HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ

HandySense ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์มแบบเปิดสู่สังคมไทย ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจทั่วไปนำไปผลิตเพื่อใช้หรือจำหน่ายได้ ภายใต้แนวคิด Smart Farming Open Innovation หรือ นวัตกรรมแบบเปิด ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่เปิดเผยรายละเอียดการผลิต และอนุญาตให้สาธารณะนำไปผลิตและใช้งานโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ (License Fee) และค่าตอบแทนการใช้สิทธิรายปี (Royalty Fee) โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรไทยยุคใหม่ ได้มีเครื่องมือที่ทันสมัย ใช้งานในราคาที่จับต้องได้ และต้องการให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางด้านสมาร์ทฟาร์มโดยผู้ประกอบการไทย เนคเทค-สวทช. ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์มที่ชื่อว่า “HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” มาตั้งแต่ปี 2560 ในระยะแรกได้มีการนำผลงานวิจัยไปขยายผลให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีแทค ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เนคเทค-สวทช. มีเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดฟาร์มต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ 30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด โดยการใช้อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วยกล่องเซนเซอร์ที่กระจายอยู่ในโรงเรือนเพาะปลูก ใช้สำหรับวัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิ และแสง… Continue reading HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Wed Mar 24 2021อ่านเพิ่มเติม...

ก.เกษตรฯจับมือพันธมิตรเผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” หวังพัฒนาภาคเกษตรครบวงจร

กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค ธ.ก.ส. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้า “โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation จัดทำต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ เป้าหมายจะดำเนินการ  16 จุด เป้าขยายผลให้ครบทั้ง 50 ศูนย์ปฏิบัติการภายในปี 2566 หวังพัฒนาการผลิต และคุณภาพสินค้า ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว “โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณืการเกษตร ธ.ก.ส. และหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการให้แก่เกษตรกรต้นแบบ ใน ศพก.… Continue reading ก.เกษตรฯจับมือพันธมิตรเผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” หวังพัฒนาภาคเกษตรครบวงจร

เติมเต็ม Ecosystemให้ “ HandySense ”ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยงานวิจัยอย่างยั่งยืน

 “ใช้งานง่าย  ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและมีราคาที่เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงได้”   นี่คือจุดเด่นและเป็นเจตนารมย์ของนักวิจัยที่ริเริ่มพัฒนาอุปกรณ์อัจฉริยะอย่าง  “ HandySense” (แฮนดี้ เซนส์) ขึ้น  เพื่อเป็นตัวช่วยในการเริ่มต้นทำเกษตรยุคใหม่ให้กับเกษตรกรไทย   ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่ต้องการยกระดับเกษตรกรไทยจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ยังต้องใช้แรงงานคนและขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ มาสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ที่เป็นเกษตรแม่นยำและเกษตรมูลค่าสูง     โดย “HandySense” หรือ “ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” ริเริ่มและพัฒนาโดย “นายนริชพันธ์ เป็นผลดี”  ผู้ช่วยนักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากการเป็นลูกหลานเกษตรกร อาชีพดั้งเดิมของครอบครัว   เมื่อคุณพ่อ ซึ่งเกษียณอายุการทำงาน  กลับไปทำอาชีพเกษตรกรอีกครั้ง  “นริชพันธ์” หรือ “ตุ้น” ซึ่งเป็นนักวิจัยที่พัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเซนเซอร์และไอโอที ( Internet of things: IoT) จึงคิดที่จะประยุกต์ความรู้ที่มี  พัฒนาเป็น “อุปกรณ์อัจฉริยะ” เทคโนโลยีตัวช่วยที่จะทำให้ครอบครัวและเกษตรกรคนอื่น ๆ สามารถทำงานด้านการเกษตรได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น   ระบบบริหารจัดการฟาร์มอัจฉริยะ “HandySense”   อาศัยการทำงานของเทคโนโลยีไอโอทีและเซนเซอร์  ซึ่งประกอบด้วย  2 ส่วนหลัก  ส่วนแรกคือ ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์วัดความเข้มแสง  อุณหภูมิ ความชื้นในดิน และในอากาศ  แสง   และส่งต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ผ่านระบบคลาวด์ ไปยังส่วนที่ 2… Continue reading เติมเต็ม Ecosystemให้ “ HandySense ”ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยงานวิจัยอย่างยั่งยืน

พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะ ใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และเศรษฐกิจโลกกำลังเป็นตัวผลักดันให้ภาคการเกษตรต้องปรับระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพให้สูงขึ้นในขณะที่โจทย์การทำต้นทุนการผลิตให้ลดลง พร้อมกับการใช้เงินลงทุนที่ไม่สูง ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดโครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ดีแทคและหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบอัจฉริยะ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน เพื่อยกระดับสู่การทําเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรแบบแม่นยํา (Precision Agriculture)  เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว่า โครงการ Handy Sense มีเป้าหมายจะดำเนินการ รวม 16 จุด แบ่งเป็น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 6 ศูนย์ (เขตละ 1 ศูนย์)… Continue reading พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะ ใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท

handysense
handysensehandysense

ที่อยู่

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.)

ติดต่อเรา

025646900 ต่อ 2353

https://www.nectec.or.th/innovation/

HandySense Community

Copyright © 2020 | Privacy Policy | Terms