piya_cha
เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)
ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำโดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Thing) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน
ประโยชน์ของระบบเกษตรแม่นยำ
ทั้งหมดเหล่านี้ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ
ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ก่อให้เกิดการผลักดันนำไปสู่การขยายผลให้เกิดเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ (Open Innovation Agriculture) มีการสร้างเครือข่าย (Communities) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดิจิทัลยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคการเกษตร โดยมีความมุ่งหวังที่จะยกระดับเทคโนโลยีด้านการเกษตรให้สามารถใช้อย่างอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
กำหนดการ
วันที่ 29 มีนาคม 2564
09.00-09.15 น.
กล่าวนำความสำคัญของการเสวนา “เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ”
โดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
09.15-11.00 น.
เสวนา หัวข้อ เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ
โดย
1) ผู้แทนปราชญ์เกษตร: นายสุรพล จารุพงศ์
อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าของศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน (Smile Lemon)
2)ผู้ให้บริการ: นายประสิทธิ์ ป้องสูน
CEO : Kitforward
3) หน่วยงานภาครัฐ: นางสาวอัจฉริยา จันทรวงศ์
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา
4) ผู้ประกอบการ: นายณฤต ดวงเครือรติโชติ
หัวหน้าฝ่าย IoT ส่วนงาน B2B Solution Dtac
5) ผู้ร่วมเสวนา: นายนริชพันธ์ เป็นผลดี
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ (ITSN) ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT)
11.00-12.00 น.
ถาม – ตอบ ออนไลน์
ที่อยู่
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.)
ติดต่อเรา
025646900 ต่อ 2353
https://www.nectec.or.th/innovation/
HandySense Community